Unique Thai Show

วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553

รำไทย และ การฟ้อน

การรำ,ระบำเเละการฟ้อนเป็นศิลปะและวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษของประเทศชาติอีกอย่างที่อยากนำมาเสนอ

รำไทย เป็นคำกริยา หมายถึง แสดงท่าเคลื่อนไหวคนเดียวหรือหลายคน โดยมีลีลา และแบบท่าของการเคลื่อนไหว และมีจังหวะลีลาเข้ากับเสียงที่ทำจังหวะเพลงร้องหรือเพลงดนตรี รำในความหมายต่อมาคือ "รำละคร"

ประเภทของการรำ การรำจะแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ 2 ประเภท คือ
แบ่งตามลักษณะของการแสดงโขน - ละคร ได้แก่

1. การรำหน้าพาทย์ เป็นการรำประกอบเพลงแบบหนึ่ง ซึ่งได้มีผู้ให้ความหมายของคำว่า "หน้าพาทย์" ไว้ดังนี้
"การรำหน้าพาทย์ คือ การรำตามทำนองเพลงดนตรีปี่พาทย์ บรรเลงประกอบการแสดงโขน ละคร และอื่นๆ ผู้แสดงจะต้องเต้นหรือรำไปตามจังหวะ และทำนองเพลงที่บัญญัติไว้โดยถือหลักการบรรเลงเป็นสำคัญ
2.การรำบท เป็นการรำอีกประเภทหนึ่งซึ่งได้มีผู้ให้ความหมายต่างๆ ดังนี้
การรำบท คือ การแสดงท่าทางแทนคำพูดให้มีความหมายต่างไป รวมทั้งแสดงอารมณ์ด้วย
การรำบท คือ การแสดงท่าทางไปตามบท และไม่ใช้เสียงประกอบการพูด ฉะนั้นจึงหมายถึงการแสดงในความหมายของนาฏศิลป์ โดยใช้ภาษาท่าทางสื่อความหมาย
ประเภทที่แบ่งตามลักษณะของการรำ

1. รำเดี่ยว คือ การแสดงการรำที่ใช้ผู้แสดงเพียงคนเดียว ได้แก่ การรำฉุยฉายต่างๆ เช่น ฉุยฉายวันทอง ฉุยฉายเบญกาย เป็นต้น
2. รำคู่ คือการแสดงที่นิยมใช้เบิกโรงอาจจะเกี่ยวข้องกับการแสดงหรือไม่ก็ได้ เช่น รำประเลง รำแม่บท รำอวยพร หรือเป็นการรำคู่ที่ ตัดตอนมาจากการแสดงละคร เช่นพระลอตามไก่จากเรื่องพระลอ
3. รำหมู่ คือ การแสดงที่ใช้ผู้แสดงมากกว่า 2 คนขึ้นไป มุ่งความงามของท่ารำ และความพร้อมเพรียงของผู้แสดง เช่น รำวงมาตรฐาน รำพัด รำโคมรำสีนวล

ฟ้อน หมายถึง การแสดงกริยาเดียวกับระบำหรือการรำ เพียงแต่เรียกให้แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น จัดเป็นการแสดงพื้นเมืองของภาคนั้นๆ แต่ในรูปของการแสดงแล้วก็คือ ลักษณะการร่ายรำนั่นเอง ที่ผู้แสดงต้องแสดงให้ประณีงดงาม
ศิลปการแสดง "ฟ้อน" ในลานนานั้น มีลักษณะเป็นศิลปะที่ผสมกันโดยสืบทอดมาจากศิลปะของชนชาติต่างๆ ที่มีการก่อตั้งชุมชนอาศัยอยู่ในอาณาเขตลานนานี้มาช้านาน นอกจากนี้ยังมีลักษณะของการรับอิทธิพลจากศิลปะของชนชาติที่อยู่ใกล้เคียงกันด้วย จากการพิจารณาศิลปะการฟ้อนที่ปรากฎในลานนายุคปัจจุบัน ท่านอาจารย์ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แบ่งการฟ้อนออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้

1. ฟ้อนที่สืบเนื่องมาจากการนับถือผี เป็นการฟ้อนที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อถือ และพิธีกรรม ได้แก่ ฟ้อนผีมด ผีเม็ง ฟ้อนผีบ้านผีเมือง เป็นต้น
2. ฟ้อนแบบเมือง หมายถึงศิลปะการฟ้อน ที่มีลีลาแสดงลักษณะเป็นแบบฉบับของ "คนเมือง" หรือ "ชาวไทยยวน" ซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ที่อาศัยอยู่เป็นปึกแผ่นในแว่นแคว้น "ลานนา" นี้ การฟ้อนประเภทนี้ ได้แก่ ฟ้อนเล็บ ฟ้อนสาวไหม ฟ้อนเจิง ฟ้อนดาบ เป็นต้น
3. ฟ้อนแบบม่าน คำว่า "ม่าน" ในภาษาลานนา หมายถึง "พม่า" การฟ้อนประเภทนี้เป็นการผสมผสานกันระหว่างศิลปะการฟ้อนของพม่ากับของไทยลานนา ได้แก่ ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา
4. ฟ้อนแบบเงี้ยวหรือไทยใหญ่ หมายถึง การฟ้อนที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะการแสดงของชาวไทยใหญ่ (คนไทยลานนามักเรียกชาวไทยใหญ่ว่า "เงี้ยว" ในขณะที่ชาวไทยใหญ่มักเรียกตนเองว่า "ไต") ได้แก่ การฟ้อนไต ฟ้อนเงี้ยว กิ่งกะหร่า (กินราหรือฟ้อนนางนก) เป็นต้น
5. ฟ้อนที่ปรากฎในการแสดงละคร การฟ้อนประเภทนี้เป็นการฟ้อนที่มีผู้คิดสร้างสรรค์ขึ้นในการแสดงละครพันทาง ซึ่งนิยมกันในราวสมัยรัชกาลที่ 5 ได้แก่ ฟ้อนน้อยใจยา ฟ้อนลาวแพน ฟ้อนม่านมงคล เป็นต้น

ระบำ เป็นคำกริยา หมายถึง การแสดงที่ต้องใช้คนจำนวนมากกว่า 2 คนขึ้นไป ซึ่งการแสดงนั้นๆจะใช้เพลงบรรเลงโดยมีเนื้อร้องหรือไม่มีเนื้อร้องก็ได้ ระบำนั้นเป็นศิลปะของการร่ายรำที่เป็นชุด ไม่ดำเนินเป็นเรื่องราว ผู้รำแต่งกายงดงาม จุดมุ่งหมายเพื่อแสดงความงดงามของศิลปะการรำไม่มีการดำเนินเรื่อง
ประเภทของระบำ จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ระบำมาตรฐาน เป็นระบำแบบดั้งเดิมที่มีมาแต่โบราณกาล ไม่สามารถนำมาเปลี่ยนแปลงท่ารำได้ เพราะถือว่าเป็นการร่ายรำที่เป็นแบบฉบับ บรมครูนาฏศิลป์ได้คิดประดิษฐ์ไว้ และนิยมนำมาเป็นแบบแผนในการรำที่เคร่งครัด การแต่งกายของระบำประเภทนี้ มักแต่งกายในลักษณะที่เรียกว่า "ยืนเครื่อง"

2. ระบำที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ เป็นลักษณะระบำที่ปรับปรุงหรือประดิษฐ์ขึ้นใหม่ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมของผู้แสดง และการนำไปใช้ในโอกาสต่างๆกัน จำแนกออกเป็น 4 ประเภท

2.1 ปรับปรุงมาจากพื้นบ้าน หมายถึง ระบำที่คิดประดิษฐ์สร้างสรรค์ขึ้นมาจากแนวทางความเป็นอยู่ของคนพื้นบ้าน การทำมาหากิน อุตสาหกรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีในแต่ละท้องถิ่นออกมาในรูประบำ เพื่อเป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่นของตน เช่น เซิ้งบั้งไฟ เต้นกำรำเคียว ระบำงอบ ระบำกะลา ฯลฯ
2.2 ปรับปรุงมาจากท่าทางของสัตว์ หมายถึง ระบำที่คิดประดิษฐ์ขึ้นใหม่ตามลักษณะลีลาท่าทางของสัตว์ชนิดต่างๆ บางครั้งอาจนำมาใช้ประกอบการแสดงโขน - ละคร บางครั้งก็นำมาใช้เป็นการแสดงเบ็ดเตล็ด เช่น ระบำนกยูง ระบำนกเขา ระบำมฤครำเริง ระบำตั๊2.3 ปรับปรุงมาจากตามเหตุการณ์ หมายถึง ระบำที่คิดประดิษฐ์ขึ้นใช้ตามโอกาสที่เหมาะสม เช่น ระบำพระประทีป ระบำโคมไฟ ประดิษฐ์ขึ้นรำในวันนักขัตฤกษ์ ลอยกระทงในเดือนสิบสอง ระบำที่เกี่ยวกับการอวยพรต่างๆสำหรับเป็นการต้อนรับ และแสดงความยินดี 2.4 ปรับปรุงขึ้นใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน ระบำประเภทนี้เป็นระบำประดิษฐ์ และสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางสื่อนำสู่บทเรียน เหมาะสำหรับเด็กๆ เป็นระบำง่ายๆ เพื่อเร้าความสนใจประกอบบทเรียนต่างๆ เช่น ระบำสูตรคูณ ระบำวรรณยุกต์ ระบำเลขไทย ฯลฯ
-------- ระบำประเภทปรับปรุงขึ้นใหม่นี้ ลักษณะท่าทางจะไม่ตายตัว มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ ตัวบุคคล ตลอดจนฝีมือ และความสามารถของผู้สอน และตัวนักเรียนเอง---------
------------------------------------------------------

2 ความคิดเห็น: